กฟผ.ไม่สามารถหยุดเสียงคัดค้านได้ ถึงแม้คณะกรรมการสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติจะสนับสนุนโครงการนี้อย่างเต็มที่ และธนาคารโลกเองก็อนุมัติเงินกู้สำหรับโครงการนี้แล้วก็ตาม แต่เสียงคัดค้านก็ทวีขึ้นในกลุ่มประชาชนต่างๆ ทั้งนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นักโบราณคดี นักธรณีวิทยา นักกฏหมาย สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนใน จังหวัดกาญจนบุรี และ สมุทรสงคราม ต่างแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนตัว เพื่อชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดและผลเสียที่จะเกิดจากการสร้างเขื่อนนี้ รวมทั้งในหมู่นักวิชาการ ก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ว่าอะไรคือผลประโยชน์ที่แท้จริงที่จูงใจให้ธนาคารโลกอนุมัติเงินกู้แก่โครงการขนาดใหญ่ นับเป็นการคัดค้านอย่างเป็นระบบและ น่าทึ่ง เพราะมีการระดมความคิดในแง่มุมต่างๆ เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน
เหตุผลในการระงับ
๑. รายงานการศึกษาที่ กฟผ. จัดเตรียมและสภาพัฒน์ฯเป็นผู้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น มีข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริง ฯลฯ
๒. เขื่อนขนาดใหญ่น่าจะมีข้ออ่อนในเรื่องขนาด เนื่องจากต้องกักเก็บน้ำเป็นปริมาณกว้าง และระดับน้ำจะขึ้นๆลงๆ ตามภาวะน้ำฝนด้วย ระดับน้ำในปีที่มีน้ำมากกับน้ำน้อยอาจต่างๆกันถึงหนึ่งในสาม ฯลฯ
๓. ฯลฯ ยิ่งกว่านั้นประเทศไทยยังขุดพบถ่านลิกไนต์ น้ำมันและก๊าซบนฝั่งและในทะเลได้มากขึ้นเรื่อยๆฯลฯ
๔. รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเขื่อนน้ำโจน ไม่ได้มีการพิจารณาถึงต้นทุนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งจะต้องเกิดขึ้นทั่วประเทศ ถ้ามีการคิดต้นทุนในแง่ราคาและความอุดมสมบูรณ์ของที่ดินและป่าไม้แล้ว การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำตอนล่างของเขื่อน และการสูญเสียผลผลิตที่ควรได้ในอ่าวไทย ซึ่งเกิดจากการสูญเสียธาตุอาหารที่จะพัดพาจากแม่น้ำสู่อ่าวไทย ย่อมทำให้สัดส่วนผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการสร้างเขื่อนตามที่ชี้แจงไว้ในโครงการลดน้อยลง จนอาจไม่คุ้มทุน
๕. การสูญเสียคุณประโยชน์ทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา ฯลฯ
๖. กาญจนบุรีมีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์มาก ฯลฯ
๗. ฯลฯ มูลค่าของแร่ธาตุและแหล่งโบราณคดีอาจเป็น ๓ เท่าของตัวเขื่อนก็ได้ การพยายามแก้ไขปัญหาด้วยงบประมาณดังกล่าว จึงเป็นเหมือนการตัดอวัยวะสำคัญออกแล้วจ่ายพลาสเตอร์และยาปฏิชีวนะแทน
๘. มีเอกสารเกี่ยวกับมูลค่าของป่า และสัตว์ป่าที่จะถูกทำลาย ไปเพราะการสร้างเขื่อนน้ำโจน ฯลฯ
๙. เนื่องจากข้าพเจ้ากังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย จึงได้แย้ง กฟผ.ที่อ้างว่าเขื่อนนี้มีความปลอดภัยเต็มที่ ข้าพเจ้าบอกว่าไม่มีเขื่อนใดที่มีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ฯลฯ
๘. มีเอกสารเกี่ยวกับมูลค่าของป่า และสัตว์ป่าที่จะถูกทำลาย ไปเพราะการสร้างเขื่อนน้ำโจน ฯลฯ
๙. เนื่องจากข้าพเจ้ากังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย จึงได้แย้ง กฟผ.ที่อ้างว่าเขื่อนนี้มีความปลอดภัยเต็มที่ ข้าพเจ้าบอกว่าไม่มีเขื่อนใดที่มีความปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ฯลฯ
(นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ ๗๕ ปีที่ ๗ เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๔)
ปัจจุบันนี้ พุทธศักราช ๒๕๕๗ แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในประเทศไทยมากขึ้น นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น