วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

น้้ำโจน ถึง ป่าแม่วงก์

น้ำโจน  เป็นผืนป่าที่มีคุณค่า ดุจเดียวกับ เกาะกาลาปากอส  ผมไม่ได้คิดเองนะ  แต่เรื่องนี้มีปรากฏในหนังสือ สารคดี ฉบับที่ ๑๔  ปีที่ ๒ มีนาคม ๒๕๒๙ ว่า


เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา  เจ้าชายเบิร์นฮาร์ดแห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จเยือนประเทศไทย เพื่อดูงานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ  พระองค์ทรงเปิดเผยว่า  ในสายตาของกองทุนอนุรักษ์สัตว์ป่าสากล  เห็นว่าประเทศไทยเป็น ๑ ใน ๑๔ ประเทศของโลกขณะนี้ ที่เป็นตัวอย่างอันดีในการดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเฉพาะการมีอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง  ในขณะที่ป่าเมืองร้อนในในแถบเอเชียกำลังถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากมีการศึกษาพบว่า มีสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคหลายชนิดอยู่ในพื้นที่ป่าแถบนี้    นอกจากนั้น เจ้าชายเบิร์นฮาร์ด  ยังทรงกล่าวถึงธรรมชาติบริเวณน้ำโจน ที่ จังหวัดกาญจนบุรี ว่า เป็นป่าที่สวยงามมากเท่าที่ทรงพบ  และทรงเห็นว่าบริเวณนี้ไม่ควรจะมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่  เนื่องจากต้นไม้อายุพันๆปีจะถูกทำลาย  ป่าบริเวณน้ำโจนควรจะมีการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของโลก เช่นเดียวกับที่เกาะกาลาปากอส  ซึ่ง ชาร์ล ดาร์วิน เคยไปใช้ชีวิตอยู่

จากข้อมูลที่พบ  คณะรัฐมนตรีมีมติระงับการสร้างเขื่อนน้ำโจน เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๑

ป่าแม่วงก์  ก็มีโครงการจะสร้างเขื่อนเหมือนกัน  คราวนี้ คุณศศิน  เฉลิมลาภ เลขามูลนิธิสืบนาคะเสถียร  เคลื่อนไหวคัดค้าน (น้ำโจน   มี คุณสืบ นาคะเสถียร รวมอยู่ด้วย ในกลุ่มใหญ่ที่ร่วมคัดค้าน)
วันนี้ ( ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ) คุณศศิน มาออกรายการของคุณจอมขวัญ ช่องเนชั่น  ได้ความว่าอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า "ไม่สมควรสร้างเขื่อนที่ป่าแม่วงก์"  ผมก็หวังว่ากรมชลประทานควรถอนโครงการนี้เสีย

จุดประสงค์หลักในการสร้างเขื่อนในป่าแม่วงก์  คือ เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้  และป้องกันน้ำท่วม  คุ้มละหรือ   แล้วเขื่อนศรีนครินทร์ ในพื้นที่กาญจนบุรี  เกษตรกรได้ใช้น้ำสักเท่าไรกัน    ปี๒๕๕๔  ก็พิสูจน์แล้วว่าเขื่อนก็ช่วยป้องกันน้ำท่วมไม่ได้

คิดกันแต่โครงการใหญ่ๆ  โครงการกักเก็บน้ำเพื่อเกษตรกร โดยไม่ต้องทำลายผืนป่าจำนวนมาก  ไม่น่ายากที่จะคิด  อ่างเก็บน้ำห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี  มีโครงการไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี  เพิ่งมาสร้างเมื่อประมาณ ๕ ปี จนบัดนี้ยังไม่เสร็จเลย  เกษตรกรก็รอแต่น้ำฝนเท่านั้น

ข้ออ้างที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อเกษตรกรนั้น  ทำให้ประชาชนเกิดความขัดแย้งกันเปล่าๆ  เขื่อนแต่ละแห่งเกษตรกรในพื้นได้รับน้ำกันทั่วถึงจริงหรือ

คสช.  คืนความสุขให้ผมได้จริงๆ รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ  แม้ความคิดก็ไม่เชื่อว่าเป็นไปได้  แต่อัฟริกาใต้ช่วงระยะเวลา ๕ ปี แห่งการพยายามก็มีการนองเลือดมาก(สารคดี ช่องไทยพีบีเอส)  ผมคิดว่าเหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุให้มี คสช. คือจุดต่ำสุดของประเทศไทยแล้ว  มีเรื่องที่สำคัญเร่งด่วนอีกมาก  มากกว่า  จำเป็นกว่า  เขื่อน

คืนความสุขให้ผมเถอะครับ  อึดอัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น